1. สาระสำคัญ
ประเทศไทยได้มีการสำรวจพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และนำขึ้นมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหินและน้ำมันเตา ซึ่งมีราคาสูงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งแต่ละปีมีมูลค่ามหาศาล และขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญความผันผวนของราคาน้ำมันตลาดโลก ซึ่งเสี่ยงต่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน การนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้ จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ของ การพึ่งพาพลังงานที่มีอยู่ภายในประเทศของเราเองอย่างเป็นรูปธรรม และเนื่องด้วยก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด คุณภาพดี และราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ ทำให้ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ผู้รับสัมปทานสำรวจและผลิตก๊าซจึงได้เสาะแสวงหาแหล่งก๊าซใหม่ ๆ เพื่อนำก๊าซจากแหล่งที่มีอยู่ขึ้นมาใช้ให้ได้มากที่สุด ขณะ เดียวกันหน่วยงานภาครัฐและเอกชนก็มีความพยายามนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด นอกเหนือ จากการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะ
2. สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานก๊าซธรรมชาติ องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ และตระหนักถึงผลดีและผลเสียในการใช้ก๊าซธรรมชาติ
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติได้
2. บอกองค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติได้
3. อธิบายสถานะของก๊าซธรรมชาติได้
4. อธิบายการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทยได้
5. ระบุประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติได้
6. วิเคราะห์ผลดีและผลเสียในการใช้ก๊าซธรรมชาติได้
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 4
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 4
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
1. ก๊าซธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดจากข้อใด
ก. ฟอสซิล
ข. หินน้ำมัน
ค. น้ำมันดิน
ง. หินตะกอน
2. สารในข้อใด คือองค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ
ก. สารไฮโดรเจน
ข. สารไนโตรเจน
ค. สารไฮโดรคาร์บอน
ง. สารไนโตรเจนซัลไฟด์
3. ก๊าซธรรมชาติมีส่วนประกอบ 70% เป็นก๊าซอะไร
ก. ก๊าซมีเทน
ข. ก๊าซอีเทน
ค. ก๊าซบิวเทน
ง. ก๊าซโพรเทน
4. ก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ส่วนใหญ่เป็นก๊าซอะไร
ก. ก๊าซมีเทน
ข. ก๊าซอีเทน
ค. ก๊าซบิวเทน
ง. ก๊าซโพรเทน
5. ข้อใด ไม่ใช่ คุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติ
ก. ไม่มีสี
ข. ไม่มีกลิ่น
ค. ติดไฟได้
ง. หนักกว่าอากาศ
6. ข้อใดคือส่วนผสมของก๊าซ LPG
ก. มีเทนและอีเทน
ข. มีเทนและบิวเทน
ค. โพรเทนและมีเทน
ง. โพรเทนและบิวเทน
7. การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้ในกิจการใด
ก. การขนส่ง
ข. การเกษตรกรรม
ค. การอุตสาหกรรม
ง. การผลิตกระแสไฟฟ้า
8. แหล่งก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแหล่งบก อยู่ในจังหวัดใด
ก. จังหวัดเลย
ข. จังหวัดสุรินทร์
ค. จังหวัดขอนแก่น
ง. จังหวัดอุบลราชธานี
9. โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดใด
ก. จังหวัดตราด
ข. จังหวัดชลบุรี
ค. จังหวัดระยอง
ง. จังหวัดจันทบุรี
10. Dry Ice เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกก๊าซในข้อใด
ก. ก๊าซออกซิเจน
ข. ก๊าซไฮโดรเจน
ค. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เนื้อหา
เนื้อหา
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ (Natrual Gas)
ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับน้ำมันเกิดจากซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปีทับถมสะสมกันจนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิล นั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล
ภาพที่ 2 องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ
3. สถานะของก๊าซธรรมชาติ สามารถแบ่งได้เป็น
3.1 Pipe Natural Gas หรือก๊าซธรรมชาติที่ขนส่งโดยทางท่อ เรียกชื่อทางการตลาดว่า Sale Gas
3.2 NGV หรือ Natural Gas for Vehicles
3.3 LNG หรือ Liquefied Natural Gas
4. คุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติ มีดังนี้
4.1 เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
4.2 เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
4.3 ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ (ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติ เป็นผลมาจากการเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่ว)
4.4 เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5 – 0.8 เท่าของอากาศ)
4.5 ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5 – 15 % ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 537 – 540 องศาเซลเซียส
5. ก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้มแตกต่างกันอย่างไร
4.1 เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
4.2 เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
4.3 ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ (ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติ เป็นผลมาจากการเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่ว)
4.4 เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5 – 0.8 เท่าของอากาศ)
4.5 ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5 – 15 % ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 537 – 540 องศาเซลเซียส
5. ก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้มแตกต่างกันอย่างไร
ข้อเปรียบเทียบ | ก๊าซธรรมชาติ (NGV) | ก๊าซหุงต้ม (LPG) |
ความปลอดภัย | มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเบากว่า อากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะลอยขึ้นสู่อากาศทันที | มีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายอยู่ตามพื้นราบ |
ความพร้อมในการนำมาใช้งาน | สถานะเป็นก๊าซ นำไปใช้ได้เลย | สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซก่อนนำไปใช้งาน |
ประสิทธิภาพการ เผาไหม้ | เผาไหม้ได้สมบูรณ์ | เผาไหม้ได้สมบูรณ์ |
คุณลักษณะของเชื้อเพลิง | ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เผาไหม้ปราศจากเขม่าและกำมะถัน | ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย |
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ | ไม่ต้องสร้างถังเก็บสำรองเชื้อเพลิง | 1. ต้องมีถังเก็บสำรอง 2. ต้องสั่งซื้อเชื้อเพลิงล่วงหน้า |
7. การแยกก๊าซธรรมชาติ
8. โรงแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย
ภาพที่ 3 วิธีการขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย
ภาพที่ 4 กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติของ บริษัท ปตท.
9. ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
10. ผลดีในการใช้ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ คือ
10.1 ช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
10.2 ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน
10.3 กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
10.4 ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
10.5 ประเทศไทยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าราคาถูกด้วยก๊าซธรรมชาติ ช่วยทำให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง และช่วยกระจายความเจริญสู่ชนบท
10.6 ทำให้รัฐมีรายได้จากค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
11. โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ ดีอย่างไร
11.1 โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติมีต้นทุนต่ำ ผลิตไฟฟ้าได้ถูก
11.2 โรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติเป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม
11.3 โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติมีประสิทธิภาพดีกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินหรือน้ำมัน
12. ผลเสียในการใช้ก๊าซธรรมชาติ
12.1 ความเป็นพิษ
12.2 ไฟไหม้ / ระเบิด (fire / explosion)
บทสรุป
พลังงานจากปิโตรเลียม เป็นพลังงานที่ใช้ได้ง่ายและสะดวกที่สุด เมื่อนำปิโตรเลียมไปกลั่นแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล ใช้ในภาคการผลิตและการขนส่ง น้ำมันเบนซินใช้ในการคมนาคมขนส่ง แม้ว่าประเทศไทยจะมีแหล่งปิโตรเลียม แต่ก็ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ ปัจจุบันมีการขยายตัวทางภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีความต้องการพลังงานชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น หนทางที่จะสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือการร่วมมือกันในการร่วมมือกันอนุรักษ์และใช้อย่างคุ้มค่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความอยู่รอดในอนาคต
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 4
ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เชื้อเพลิงฟอสซิล หมายถึงข้อใด
ก. น้ำมัน
ข. ถ่านหิน
ค. ก๊าซธรรมชาติ
ง. ทุกข้อคือคำตอบ
2. องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติในข้อใดมีมากที่สุด
ก. อีเทน
ข. มีเทน
ค. โพรเทน
ง. บิวเทน
3. Pipe Natural Gas มีชื่ออีกอย่างว่าอะไร
ก. Sola Gas
ข. Sell Gas
ค. Sale Gas
ง. Solic Gas
4. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง
ก. ก๊าซธรรมชาติมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ
ข. ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ค. ก๊าซธรรมชาติจะไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ปราศจากพิษ
ง. ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง
5. ข้อใดหมายถึงก๊าซหุงต้ม
ก. LNG
ข. NGV
ค. LPG
ง. NGL
6. ประเทศไทยมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาจากประเทศใด
ก. ลาว
ข. พม่า
ค. ญี่ปุ่น
ง. มาเลเซีย
7. ผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติในข้อใดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี
ก. มีเทน
ข. อีเทน
ค. บิวเทน
ง. โพรเทน
8. “น้ำแข็งแห้ง” มีความสัมพันธ์กับข้อใด
ก. ก๊าซอีเทน
ข. ก๊าซโซลีนธรรมชาติ
ค. ไฮโดรเจนคาร์บอนเหลว
ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
9. ก๊าซธรรมชาติในข้อใดที่สามารถนำมาผลิตเม็ดพลาสติกได้
ก. C1
ข. C2
ค. C3
ง. C4
10. ข้อใดคือผลเสียในการใช้ก๊าซธรรมชาติ
ก. มีราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ
ข. เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน สร้างก๊าซเรือนกระจก
ค. เป็นตัวฉุดการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ง. การสะสมตัวของก๊าซธรรมชาติอาจเกิดระเบิดได้ถ้าไม่มีการระบายอากาศ